เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยการปฏิบัติจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าจะส่งผลต่อพัฒนาการอย่างรอบด้าน ทั้งด้านพัฒนาการการเรียนรู้ที่จะทำงานด้วยตนเอง สังคม อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา และร่างกาย นอกจากนี้เด็กยังซึมซับเกี่ยวกับการสร้างนิสัยที่ดี และบูรณาการทั้งองค์ความรู้ เจตคติ แล้วนำไปใช้ในการดำรงชีวิต สามารถดูแลตนเอง อยู่ร่วมกันกับครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมตามบริบทวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ในสังคมและชุมชนนั้นๆ เมื่อมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเป็นวิถีการดำรงชีวิตของเด็กไทย จึงสามารถธำรงรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ยั่งยืนอยู่คู่คนไทยและชาติไทยต่อไปได้ การนี้พ่อแม่ ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญต่อการเชื่อมโยงทักษะชีวิตของเด็กจากห้องเรียนสู่การดำเนินชีวิตที่บ้านอย่างเป็นเอกภาพ ดังนั้นการประสานร่วมมือระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมมือกันพัฒนาเด็กให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อวิถีชีวิตที่ดีงามของเด็กไทยสืบไป
วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551
สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
หลักการจัดประสบการณ์และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระยะปฐมวัยนับว่าเป็นวัยทองของการวางรากฐานที่ดีของชีวิต ดังที่ UNESSCO (1983 : 2) กล่าวว่าในช่วง 0-6 ปี เป็นระยะที่เซลล์สมองของเด็กเจริญรวดเร็วมากที่สุดถึงร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ พัฒนาการทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิต สังคม สติปัญญา เจริญเติบโตในอัตราที่สูงสุด เด็กจึงเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นประสบการณ์ที่เด็กได้รับจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทุกด้านต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ไป ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยจึงควรสอนเด็กให้มีพื้นฐานชีวิตที่ดี เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป คำว่า "การสอน" ในระดับปฐมวัยนั้น หมายถึง การจัดประสบการณ์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)